“ไม่ว่าคุณจะเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนที่ทำงานมานานแล้ว ต้องคิดให้ได้ว่าเหมือนเราอยู่ในรายการ The Voice บริษัทเตรียมไว้ให้หมดแล้วทั้งเวที ทั้งไฟ ทั้งดนตรี หน้าที่ของคุณคือหาโอกาสที่จะขึ้นไปยืนบนเวทีให้ได้ แล้วพยายามอย่างที่สุดให้กรรมการหันมาหาคุณ”
นี่คือประโยคทิ้งท้ายของการสนทนาจองผมกับคุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ บีไอจี ผู้นำในการผลิตก๊าซไฮโดรเจนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ถ้าบริษัทอยากจะดึงศักยภาพพนักงานออกมาให้เยอะที่สุด บริษัทก็ต้องเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงให้เห็น หน้าที่ของบริษัทและผู้บริหารคือเตรียมความพร้อมไม่ใช่สร้างข้อจำกัด
“สิ่งที่ผมคิดว่าผู้บริหารต้องทำคือหาวิธีช่วยให้เค้าทำงานให้ได้ เราเลือกเค้าอย่างดีแล้วก็ต้องเชื่อใจ และให้สิทธิให้อิสระในการทำงานกับเค้า Empowerment คือสิ่งที่คนเก่งอยากได้ เลือกคนเก่งมาแล้วแต่ไม่ Empower เค้า ไม่ให้อิสระในการทำงานกับเค้ามันก็ไม่ใช่ แล้ว Empower ก็ไม่ได้หมายความว่าให้อิสระแล้วก็ไปทำมา ไม่ใช่แบบนั้น ต้องดูไปอีกว่ามีอะไรที่เราต้องช่วยเค้าอีกหรือเปล่า เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายอย่างที่เค้าอยากไปแล้วเราก็อยากให้เค้าไป
ผมตั้ง Agile Team ขึ้นมา 6 เดือนแรก ก็เหมือนทุกบริษัทที่มีเหตุผลของการทำไม่ได้อยู่เยอะมาก ผมให้ลองลิสต์ Top 5 มาเลย ปัญหาคือออฟฟิศไม่มี งั้นไปเช่าออฟฟิศให้ใหม่ ทีมไม่มีอำนาจสั่งการ เอาอำนาจดำเนินการไป งานจะได้เดินหน้าได้เร็ว ลิสต์มาผมแก้ปัญหาให้ นั่นแปลว่าไม่มีปัญหาละนะ งานต้องออกมาละนะ
นอกจากจะแก้ปัญหาให้อย่างจริงจังแล้ว ทีมก็ชัดเจนว่าผู้บริหารเอาจริงนะ ซึ่งผมมองว่ามันก็คือกำลังใจอย่างนึงที่ทีมจะสัมผัสได้
ทุกการแก้ปัญหามันมีต้นทุนทั้งนั้น ทั้งต้นทุนที่เป็นตัวเงิน ทั้งต้นทุนเรื่องของเวลา แต่ผมก็มีทัศนคติของผมอย่างนึงคือ Learn Fast Fail Fast จะเก่งแค่ไหนก็พลาดกันได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกเรื่อง เรื่องความปลอดภัย เรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เรื่องนี้เราไม่ยอมให้พลาด แต่เรายอมเสี่ยงกับเรื่องอื่น ๆ ที่มีโอกาสทำให้องค์กรของเราก้าวหน้าขึ้นไปกว่าเดิม
อย่างที่ไปตั้งออฟฟิศใหม่สำหรับ Agile Team แน่นอนมันคือต้นทุน จ้าง Agile Coach เข้ามาช่วยให้ทีมทำงานได้ง่ายขึ้นก็เป็นต้นทุน แต่ผมยอมเสี่ยงที่จะจ่ายถึงสุดท้ายมันจะไม่สำเร็จ เราโชคดีที่บริษัทมีกำไร วันนี้จ่ายพวกนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นต้นทุนไม่เท่าไหร่ ลองนึกภาพว่าถ้างานมันสำเร็จ มันจะคุ้มขนาดไหน
เทียบผลลัพธ์ที่จะได้กับต้นทุนที่เสียไปแล้วให้พนักงานได้ลองทำ ลองเจอความท้าทายใหม่ ๆ ผมว่าคุ้ม เพราะสุดท้ายผมอยากให้เค้าเห็นคุณค่าในตัวของเค้า คุณค่าในงานที่เค้าทำ We Make The World More Productive, Energy-Efficient, and Sustainable พวกเราไม่ได้ขายออกซิเจนหรือขายไนโตรเจนนะ แต่ธุรกิจของเราคือไปทำให้คนอื่น ๆ เค้ามี Productivity ที่มากขึ้น งานแบบนี้คุณคิดว่า Sexy พอมั้ยที่จะเอาเวลาของคุณมาแลก อย่างที่เราทำงานกับ ปตท. ทุ่งดอกทิวลิปที่ระยอง เบื่องหลังก็คือการใช้เทคโนโลยีความเย็น หรือเอาออกซินเจนไปช่วยตอนถ้ำหลวง ถ้าเราคือส่วนหนึ่งขององค์กรหรือธุรกิจแบบนี้มันก็น่าสนุกจริงมั้ย
ถ้างานที่เราทำหรือบริษัทที่เราอยู่มีคุณค่ากับใครต่อใคร มันก็ตอบโจทย์ว่าเราก็มีคุณค่า ไม่ว่าคุณจะเป็นวิศวกร เป็นบัญชี เป็นเอชอาร์ คุณคือส่วนหนึ่งของคุณค่าที่องค์กรส่งต่อให้คนอื่น ๆ ผมอยู่กับองค์กรนี้มา 22 ปี เพราะรู้สึกแบบนี้นี่แหละ ถ้าใครที่หางานอยู่ แล้วไม่ได้หาโดยมองแค่เรื่องของเงิน แต่มองเรื่องความท้าทายในงาน มอง Right Place ของตัวเอง ผมก็แนะนำว่าเรื่องการมองคุณค่าในงานกับคุณค่าขององค์กรเหล่านั้นว่าตรงกับคุณค่าที่ตัวเรามองหาอยู่มั้ย
สิ่งที่คนทำงานไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม ผมเองก็ด้วย ต้องนึกถึงอยู่เสมอก็คือ วันนี้กับสิบปีที่แล้วมันไม่เหมือนกัน เราอยู่กับความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ หรือ VUCA World ที่เค้าเรียกกัน สมมติว่าเรากำลังจะขับรถไปเชียงใหม่ แล้วเราอยากเข้าห้องน้ำ ในอดีตเราประเมินได้ง่ายเลยว่าเดี่ยวเลี้ยวซ้ายเราจะเจอปั๊มแน่ ๆ แต่ปัจจุบันอาจจะไม่ใช่ เลี้ยวไปอาจจะมีหรืออาจจะไม่มีปั๊มก็ได้ ถ้าคนทำงานยังใช้วิธีการเดิม ๆ เครื่องมือเดิม ๆ อยู่ เราก็อาจจะไม่รอด แล้วเรื่องนี้มันก็เกิดขึ้นในทุก ๆ หน่วยงาน ไม่ใช่เกิดแค่หน่วยงานใดหน่วยงานหนี่ง เพราะฉนั้นทุกคนในองค์กรก็ต้อง Active มากขึ้น
ปัญหาที่สำคัญข้อนึงก็คือ Comfort Zone ซึ่งใคร ๆ ก็อยากมีกันทั้งนั้น ชีวิตมันง่าย ไม่ต้องทำอะไรใหม่ แต่องค์กรก็จะอยู่รอดยาก แล้วปัญหาจริง ๆ ของ Comfort Zone คือการไม่กล้าติดสินใจ คนทำงานมานาน ๆ เข้าก็จะใช้วิธีการเดิมในการตัดสินใจ ถ้าเจออะไรที่ไม่เหมือนเดิม ก็กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะตัดสินใจ งานมันก็อาจจะไม่เดินหน้า ตรงนี้แหละครับที่ผู้บริหารต้องมาช่วย กระตุ้นให้คิด กระตุ้นให้กล้าตัดสินใจ แล้วก็พร้อมช่วยเหลือ ถ้ามันมีอะไรผิดพลาด Fail Fast Learn Fast อย่างที่ผมบอก ใช้วิธีลองทำไปทีละเล็ก เป็น Quick Win สุดท้ายมูลค่ารวม ๆ กันแล้วมันเยอะมาก คนทั้งองค์กรก็กระตือรือร้นมากขึ้น การทำงานในองค์กรก็สนุกขึ้นออกมาจาก Comfort Zone มากขึ้น บริษัทก็ Reward เค้าทำไป สร้าง Motivation ซึ่งกันและกันไปเรื่อย ๆ
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนที่ทำงานมานานแล้ว ต้องคิดให้ได้ว่าเหมือนเราอยู่ในรายการ The Voice บริษัทเตรียมไว้ให้หมดแล้วทั้งเวที ทั้งไฟ ทั้งดนตรี หน้าที่ของคุณคือหาโอกาสที่จะขึ้นไปยืนบนเวทีให้ได้ แล้วพยายามอย่างที่สุดให้กรรมการหันมา”
ผมถามคุณปิยบุตรว่า ถ้าเทียบกับ The Avengers คุณปิยบุตรคือใคร
“HULK มั้ง ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่ตัวเขียว ๆ ดี ผมชอบ”
#Interview
#HRTheNextGen
ที่มา: https://www.facebook.com/hrthenextgen/photos/a.934158989985383/2247408595327076/?type=3&theater