การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 ให้สำเร็จ ขึ้นอยู่กับแรงขับเคลื่อนที่อาจจะกระทบกับอุตสาหกรรมไทย แต่จะเป็นทั้งโอกาสหรือภัยคุกคามก็ขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม และการที่จะเป็นผู้นำในยุค 4.0 นั้น จึงต้องการคนที่มีทักษะแตกต่างไปจากเดิม พร้อมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การทำงานที่คล่องแคล่ว เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกแบบ VUCA
ล่าสุดเนคเทค สวทช. ได้จัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2564 ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 13-16 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยวันที่ 15 ธันวาคม มีการสัมมนาในหัวข้อ “กุญแจสู่การสร้างกำลังคนยุค 4.0 (Key Factors for Industry 4.0 Human Capital Development)” การเข้ามาของเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้การทำธุรกิจเปลี่ยนรูปแบบไป การบริหารจัดการขององค์กรก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จึงต้องการคนที่มีทักษะแตกต่างไปจากเดิม เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีตลอดเวลา บรรยายโดย คุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด
บีไอจี กับประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรม 4.0
บีไอจีเป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายอินดัสเทรียลแก๊สรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยธรรมชาติของก๊าซเหล่านี้มักใช้ในอุตสาหกรรมจึงถูกเรียกว่า ก๊าซอุตสาหกรรมหรืออินดัสเทรียลแก๊ส ซึ่งทำให้บีไอจีสามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวของแต่ละอุตสาหกรรม
คุณปิยบุตร กล่าวว่าบีไอจีมีเป้าหมายและพันธกิจที่จะทำให้โลกของเรามีประสิทธิผลและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy-Efficient) และอย่างยั่งยืน (Sustainable) โดยนวัตกรรมที่ไร้ขีดจำกัด
บีไอจีทำเกี่ยวกับอินดัสเทรียลแก๊สและมี Solution เรื่องไฮโดรเจนสำหรับภาคขนส่งในอนาคต การใช้เทคโนโลยีมาทำให้คาร์บอนกลายเป็นเชื้อเพลิง พลังงานสะอาด (Green Hydrogen) และ Hydrogen for Mobility การนำไฮโดรเจนมาเสริมยานยนต์ EV เป็นตัวเสริมในภาคขนส่ง ทำให้บีไอจีถึงมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องอุตสาหกรรม 4.0 และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรม 4.0 การที่บีไอจีเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกอุตสาหกรรมทำให้เห็นภาพของอุตสาหกรรมในเมืองไทย
ระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยวันนี้ น่าจะยังอยู่ระหว่าง 2.0 กับ 3.0 ยังเน้นเรื่องการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) รวมถึง Assembly Line หรือสายการประกอบชิ้นส่วน แต่ก็มีการขยับมาใช้ระบบออโตเมชั่นและคอมพิวเตอร์ในภาคการผลิต
4 Disruptive Forces แรงขับเคลื่อนอันท้าทายของอุตสาหกรรมไทย
เทรนด์ของอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ใช้ความท้าทายเดียวที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัว เพราะในวันนี้ยังมีความท้าทายอันหนึ่งที่เรียกว่า Disruptive Forces ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่มากระทบแล้วอาจจะทำให้เกิดการก่อกวนในวงการอุตสาหกรรมไทย แต่จะเป็นโอกาสหรือเป็นภัยคุกคามนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรมจะพิจารณาโดย 4 แรงขับเคลื่อนที่ต้องเจอ
1. แรงขับเคลื่อนของโลกหลังยุคโควิด-19
สถานการณ์ปัจจุบันโควิดยังคงมีอยู่แต่ว่าความรุนแรงน้อยลง ทางธุรกิจในอุตสาหกรรมก็เริ่มกลับมาทำงานอย่างปกติ แต่อาจจะไม่เหมือนเดิมกับโลกยุคก่อนโควิด ไม่ว่าในเรื่องของการทำงานไปจนถึงเรื่องของการใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้น
2. แรงขับเคลื่อนจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2565
นายกรัฐมนตรีได้ประกาศในงาน COP26 (Conference of The Parties) ว่าประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ได้ภายในปีค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายใน หรือก่อนหน้าปีค.ศ. 2065 ความท้าทายจะไปอยู่กับภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถ้าสามารถบริหารจัดการได้ จะเข้าใกล้เรื่องของ Net Zero (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์)
3. แรงขับเคลื่อนจาก Digital Technology
การนำ Digital Technology, Internet of Things, Network และข้อมูลเข้ามาใช้ แต่ในภาคอุตสาหกรรมยังนำมาใช้ได้ไม่ครบและยังคิดว่าดิจิทัลเทคโนโลยีคือการทำ Dashboard การทำเป็นระบบอัตโนมัติแล้วก็หยุดการนำมาใช้เพียงเท่านี้
4. แรงขับเคลื่อนจาก Gen Z
ในภาคอุตสาหกรรมแบ่งประชากรในการทำงานออกเป็น 4 Generation คือ Baby Boomer อายุใกล้ 60 ใกล้ก้าวเข้าสู่วัยเกษียณแบบเต็มตัว Gen X ตั้งแต่อายุ 40 กลาง ๆ จนถึง 50 กลาง ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้บริหารกันเกือบหมดแล้ว Gen Y อายุประมาณ 35 เป็นกำลังหลักของการทำงาน และ Gen Z อายุต่ำกว่า 30 ลงไปกำลังเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแน่นอนว่าบุคลิกลักษณะทัศนคติต่าง ๆ ของ Generation ใหม่นั้นไม่เหมือนกับ Generation ก่อน ๆ เพราะฉะนั้นเขาก็จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงาน มีการขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนวงการอุตสาหกรรมไทย
การที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม 4.0 ได้นั้น ต้องมี VUCA ซึ่งมาจาก 4 คำ คือ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) เป็นสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความผันผวน ยากจะคาดเดา มีความซับซ้อนสูง และคลุมเครือเกินกว่าจะอธิบายได้ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม
ย้อนหลัง 5 ปี ทั้งภาคธนาคาร ภาคของการบริการ ก็มีสถานการณ์เดียวกัน ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โควิด-19 หรือหาก Net Zero เข้ามา เราต้องรับมืออะไรบ้าง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับการส่งออก ถ้าเรายังคงมีการปลดปล่อยคาร์บอนอยู่เราจะเป็นอย่างไร ด้าน Digital Technology จะมีผู้เล่นใหม่เกิดขึ้นไหม มีทักษะที่จำเป็นสามารถรับมือได้หรือมีการทำอะไรใหม่ๆ ต้องลองผิดลองถูกเมื่อรู้ว่าผิดต้องรีบกลับตัวอย่างรวดเร็ว มีไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอเป็นสิ่งที่องค์กรต้องมี องค์กรเช่นนี้ถือเป็นลูกผสม Ambidextrous คือ สะเทินน้ำสะเทินบก คือต้องทั้ง Explore อนาคตและ Exploit คือใช้ประโยชน์ปัจจุบัน ต้องมีทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ นวัตกรรมของเดิมให้มีประสิทธิภาพและต้องมีระบบอัตโนมัติเข้ามา แล้วก็ยังต้องมีมนุษย์ มีคนที่ทำงานอยู่ในองค์กร ภาพขององค์กรควรเป็นอย่างนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้
การที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม 4.0 ได้นั้น ต้องมี VUCA ซึ่งมาจาก 4 คำ คือ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) เป็นสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความผันผวน ยากจะคาดเดา มีความซับซ้อนสูง และคลุมเครือเกินกว่าจะอธิบายได้ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม
ย้อนหลัง 5 ปี ทั้งภาคธนาคาร ภาคของการบริการ ก็มีสถานการณ์เดียวกัน ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โควิด-19 หรือหาก Net Zero เข้ามา เราต้องรับมืออะไรบ้าง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับการส่งออก ถ้าเรายังคงมีการปลดปล่อยคาร์บอนอยู่เราจะเป็นอย่างไร ด้าน Digital Technology จะมีผู้เล่นใหม่เกิดขึ้นไหม มีทักษะที่จำเป็นสามารถรับมือได้หรือมีการทำอะไรใหม่ๆ ต้องลองผิดลองถูกเมื่อรู้ว่าผิดต้องรีบกลับตัวอย่างรวดเร็ว มีไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอเป็นสิ่งที่องค์กรต้องมี องค์กรเช่นนี้ถือเป็นลูกผสม Ambidextrous คือ สะเทินน้ำสะเทินบก คือต้องทั้ง Explore อนาคตและ Exploit คือใช้ประโยชน์ปัจจุบัน ต้องมีทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ นวัตกรรมของเดิมให้มีประสิทธิภาพและต้องมีระบบอัตโนมัติเข้ามา แล้วก็ยังต้องมีมนุษย์ มีคนที่ทำงานอยู่ในองค์กร ภาพขององค์กรควรเป็นอย่างนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้
Human Capital Development
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีอยู่ 3 เรื่อง หลัก ๆ ได้แก่
1. Winning Organization
– วัตถุประสงค์ (Purpose) และทิศทางที่ชัดเจนขององค์กร
– วัฒนธรรม (Culture) คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) กฎกติกาต่างๆ ของสมาชิกในองค์กร ความคิด (Mindset) พฤติกรรม (Behavior)
– ความเชื่อมั่น (Trust) คือเรื่องของความเร็วที่องค์กรยุค 4.0 ต้องมีความเชื่อใจ การวางระบบตรวจสอบ
– ความหลากหลายของนวัตกรรม (Diversity Innovation) คือ ความแตกต่างหลากหลายและการยอมรับ การมีส่วนร่วมจะเป็นตัวผลักดันนวัตกรรม (Innovation) เราต้องยอมรับว่านวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนมีความแตกต่างหลากหลายในเชิงความคิด และนำความแตกต่างหลากหลายนั้นมาทำให้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
– ความคล่องตัว (Agility) องค์กรต้องมีความคล่องแคล่ว รวดเร็วต่อการปรับตัว คือ ความรู้สึก การตอบสนอง
– เพื่อนร่วมงานที่น่าทึ่ง (Stunning Colleagues) ก็คือมีความเข้มข้นความหนาแน่นของบุคลากรที่มีความสามารถ และมีพรสวรรค์อยู่ในองค์กร
2. People Capability
บุคลากรต้องมีแนวทาง ทัศนคติในทิศทางเดียวกับองค์กร เรื่องที่เป็นหัวใจหลักที่ทุกคนต้องมีคือเรื่องของความคิด (Mindset) เรื่องของการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เรื่องของ Growth Mindset เป็นตัวกำหนดความสำเร็จในการทำงานให้สามารถพัฒนาตนเองต่อไปเรื่อย ๆ และ Self-Awareness รู้จุดอ่อน รู้จุดแข็งของตนเองที่ต้องระวัง
3. Leadership
ผู้นำในยุคนี้ต้องขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ ขับเคลื่อนด้วย Why and Where องค์กรข้างหน้าสามารถเชื่อมต่อระหว่างคนกับองค์กรด้วย Empower ได้แล้ว คือเรียนรู้ และปรับตัว
“กำไรของภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่ Goal แต่กำไรของภาคอุตสาหกรรมเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากความเป็นเลิศของผู้คน ไปสร้างความเป็นเลิศทางธุรกิจกับพาร์ทเนอร์ เพราะว่าวันนี้ทุก ๆ ธุรกิจในอนาคตเชื่อว่าต้องอยู่กับ Ecosystem แล้วจะมาทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมี People Excellence ไปสร้าง Business Excellence กับพาร์ทเนอร์ ทั้งหมดนี้ถูกขับเคลื่อนด้วย Purpose แล้วเมื่อมีความเป็นเลิศทั้ง 3 เรื่อง ดังนั้น Profit จะไม่ใช่เป้าหมายอีกต่อไปแต่จะเป็นผลของความเป็นเลิศทั้ง 3 เรื่อง” คุณปิยบุตร กล่าวทิ้งท้าย
“กำไรของภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่ Goal แต่กำไรของภาคอุตสาหกรรมเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากความเป็นเลิศของผู้คนไปสร้างความเป็นเลิศทางธุรกิจกับพาร์ทเนอร์ เพราะว่าวันนี้ทุกๆ ธุรกิจในอนาคตเชื่อว่าต้องอยู่กับ Ecosystem แล้วจะมาทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมี People Excellence ไปสร้าง Business Excellence กับพาร์ทเนอร์ ทั้งหมดนี้ถูกขับเคลื่อนด้วย Purpose แล้วเมื่อมีความเป็นเลิศทั้ง 3 เรื่อง ดังนั้น Profit จะไม่ใช่เป้าหมายอีกต่อไปแต่จะเป็นผลของความเป็นเลิศทั้ง 3 เรื่อง” คุณปิยบุตร กล่าวทิ้งท้าย
สาระจากงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2564
หัวข้อ “กุญแจสู่การสร้างกำลังคนยุค 4.0 (Key Factors for Industry 4.0 Human Capital Development)”
วิทยากร : คุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด